จรรยาบรรณที่ต้องกระทำ หรือจิตใต้สำนึกที่สั่งให้ต้องทำ

จรรยาบรรณที่ต้องกระทำ หรือจิตใต้สำนึกที่สั่งให้ต้องทำ

คนบนโลกโซเชียลต่างพากันแห่ชื่นชมการกระทำของนักร้องและนักแสดงหนุ่มชื่อดังที่กระโดดลงไปช่วยคนนอนบาดเจ็บจากอุบัติเหตุริมถนน ซึ่งถ้าฟังดูก็อาจไม่ได้เป็นเรื่องน่าแปลกอะไร เพราะข่าวพยาบาลสาว ผู้ช่วยพยาบาล แพทย์ หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่กระโดดลงไปช่วยคนบาดเจ็บกลางถนนก็มีให้เห็นอยู่ถมไป                 แต่ความสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่คนลงไปช่วยนั้นเป็นใคร มีตำแหน่งอะไร แต่มันอยู่ที่จิตใจและจิตสำนึกของคนเสียมากกว่า เพราะก็มีเหตุการณ์บ่อยครั้งที่มีคนเจ็บนอนอยู่ข้างถนน แต่คนที่เดินผ่านไปมาก็มิได้ใส่ใจหรือเหลียวแล นั้นแสดงว่าไม่ใช่ทุกคนที่พร้อมจะกระโดดลงไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเหล่านั้น แต่ต้องเป็นกลุ่มคนที่มีจิตใจและจิตสำนึกของความเมตตาที่อยากจะช่วยเหลือผู้อื่น                 อย่างกรณีของดาราหนุ่มที่มีบทบาทในชีวิตเป็นถึงนักแสดงชื่อดัง และควบวิชาชีพความเป็นหมอหนุ่มอีกหนึ่งตำแหน่ง ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้น ดาราหนุ่มคนนี้ก็สามารถเลือกที่จะสวมเพียงบทบาทของดาราคนธรรมดาคนหนึ่งและนั่งรถผ่านไปก็ทำได้ แต่เขากลับเลือกที่จะสวมบทบาทเป็นคุณหมอกระโดดลงไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บคนนั้นแทน ซึ่งเขาได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า สิ่งที่เขาทำมันคือสัญชาตญาณที่เกิดจากจิตใต้สำนึกของความเป็นหมอ ที่ต้องมีหน้าที่หลักในการช่วยชีวิตและรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บให้รอดพ้นจากความตาย ฟังเช่นนี้แล้วก็น่าปลื้มใจแทนคนเป็นพ่อเป็นแม่นะจริงไหม                 แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง ก็ยังเกิดข้อสงสัยว่าทำไมสังคมไทยปัจจุบันยังคงมีแพทย์หรือพยาบาลที่ไร้จรรยาบรรณเป็นจำนวนมาก นั้นเป็นเพราะเขาไม่เข้าใจหรือรู้สึกเคารพต่อหลักการจรรยาบรรณแพทย์ หรือเพราะเขาขาดจิตสำนึกของการเป็นแพทย์กันแน่ ซึ่งหลักจรรณยาบรรณง่ายๆ ที่คนเป็นแพทย์หรือพยาบาลจำเป็นต้องมีอย่างน้อย 3 ประการดังนี้                 1. ไม่เมินเฉย                 คนที่มีความเป็นแพทย์หรือพยาบาลต้องมีจิตใจหลักในการช่วยเหลือคนอื่น ไม่ละเลยหรือเมินเฉยต่อผู้บาดเจ็บที่อยู่ตรงหน้า มิใช่ว่าไม่ใช่เวลาหรือหน้าที่การปฏิบัติงานของตนก็ไม่จำเป็นที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยว เพราะคนเป็นแพทย์ต้องไม่มีวันหยุด ไม่ว่าจะไปเจอคนบาดเจ็บเวลาใดที่ไหนต้องพร้อมที่จะลงไปให้ความช่วยเหลืออย่างทันที                 2. ช่วยเหลือด้วยความจริงใจ                 หากคิดจะช่วยแล้วก็ต้องช่วยด้วยความจริงใจที่อยากจะช่วยเขาจริงๆ อย่าเพียงแต่จำเป็นต้องทำเพราะเห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำตามเงินเดือนที่ได้รับ หรืออย่าเพียงแต่ทำเพราะสถานการณ์ที่บีบบังคับ ขอให้ทำด้วยความจริงใจและอยากจะช่วยเหลืออย่างแท้จริง มิเช่นนั้นแล้ว การทำหน้าที่ของแพทย์หรือพยาบาลนั้นจะไม่มีความสมบูรณ์แบบเลย                 3. ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ…