ประเทศไทยตรงกลางระหว่างกฎหมายและสิทธิมนุษยชน

ประเทศไทยตรงกลางระหว่างกฎหมายและสิทธิมนุษยชน

กำลังเป็นกระแสอย่างกระหน่ำบนโลกออนไลน์กับแฮชแท็ก SaveHakeen และแฮชแท็ก BoycottThailandที่มีสาเหตุมาจากกรณีนายฮาคีม อัลอาไรบี นักเตะสัญชาติบาห์เรน แต่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยประเทศออสเตรเลียอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยพร้อมภรรยาซึ่งถือเป็นการเดินทางออกนอกประเทศออสเตรเลียเป็นครั้งแรกแต่กลับมาถูกจับกุมที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประเทศไทย ตามที่บาร์เรนแจ้งคดีไว้กับอินเตอร์โพล หรือองค์กรตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ประเทศไทยกำลังกลายเป็นผู้ถือสถานะของคนกลางที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์และถาโถมอย่างกระหน่ำ โดยประชาชนทั้งไทยและเทศต่างก็เรียกร้องให้ปล่อยตัวฮาคีมกลับประเทศออสเตรเลีย เพราะด้วยสถานะผู้ลี้ภัยจึงมีสิทธิ์ในการคุ้มครอง แต่ด้วยหลักการทางกฎหมายสากล ประเทศบาห์เรนก็ถือเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องตัวผู้ต้องหาตามคดีหมายเรียกของประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าประเทศที่ฮาคีมควรจะกลับไปนั้นต้องเป็นประเทศใดระหว่าง บาห์เรนและออสเตรเลีย                 หากมองในเรื่องของสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร สัญชาติไหน การใช้ชีวิตแบบใด ย่อมมีสิทธิของความเป็นมนุษย์ที่เท่าธรรมกัน นอกเสียจากบางกรณีที่จำเป็นต้องถูกจำกัดสิทธิอันมีสาเหตุมาจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของเพื่อนมนุษย์หรือประเทศชาติ ซึ่งสิทธิมนุษยชนนั้น จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าความเป็นมนุษย์ ว่าด้วยเรื่องของศักดิ์ศรี ความเท่าเทียม ความเคารพในสิทธิของกันและกัน รวมถึงความเป็นอิสระของชีวิตด้วย และอย่างในกรณีของฮาคีมที่ทั่วโลกต่างก็เรียกร้องให้ประเทศไทยคำนึงถึงสิทธิความเป็นมนุษยชน โดยมีความต้องการให้ไทยส่งตัวฮาคีมกลับประเทศออสเตรเลียตามคำเรียกร้องของนายฮาคีมแต่การเรียกร้องดังกล่าวกำลังกลายเป็นปัญหาหนักอกหนักใจของประเทศไทยมิใช่น้อย เพราะกระแสการเรียกร้องนั้นกำลังสวนทางกับหลักปฏิบัติทางกฎหมาย หากเป็นเช่นนี้แล้วประเทศไทยควรจะเลือกทางไหนดี                 กระนั้น ประเทศไทยก็ยังไม่มีคำตอบให้คนทั่วโลกว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทำได้แต่เพียงควบคุมตัวไว้ชั่วคราวตามคำร้องขอความร่วมมือจากประเทศบาห์เรนเท่านั้นแต่ถ้าพูดกันตามความจริงแล้ว การที่ประเทศไทยถูกโจมตีอย่างหนักนั้นแท้จริงมันเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำของประเทศอย่างนั้นหรือ ถ้าในเมื่อประเทศไทยไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียใดกับการจับกุมฮาคีมในครั้งนี้ ทำไมถึงต้องกลายเป็นผู้ต้องหาของสังคมระดับโลก นี้หรือคือสิทธิมนุษยชนที่ประเทศได้รับ                 ถ้าทุกคนทั่วโลกต่างที่จะมุ่งเน้นการพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนของนายฮาคีม ก็จงอย่าลืมความเป็นสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยด้วย เพราะการถูกโจมตีและกลายเป็นกระแสสังคมในระดับประเทศคงไม่ใช่เรื่องที่จะน่าภูมิใจมากสักเท่าไร ยิ่งต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกด้วยแล้ว คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่ายอย่างแน่นอน

รุ่นพี่-รุ่นน้อง วัฒนธรรม สังคมหรือการแบ่งชนชั้น

รุ่นพี่-รุ่นน้อง วัฒนธรรม สังคมหรือการแบ่งชนชั้น

จากกรณีข่าวเด็กนักเรียนชายชั้น ม.3 รุมทำร้ายเด็กชั้น ม.2 และให้แสดงพฤติกรรมก้มกราบที่เกิดขึ้นบนโลกโซเชียลในขณะนี้ กลายเป็นอีกหนึ่งแง่มุมที่สถานศึกษาจะต้องพิจารณาได้แล้วว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นกับเด็กวัยรุ่นในสังคมไทย                 หากบอกว่าสิ่งที่เด็กนักเรียนรุ่นพี่ทำเกิดจากความคึกคะนอง หรือกิจกรรมที่เล่นกันระหว่างกลุ่มเพื่อน คนเป็นพ่อเป็นแม่และเป็นครู ก็คงต้องหาคำตอบร่วมกันแล้วละว่า อะไรที่ทำให้เด็กที่มีอายุเพียงเท่านี้คิดว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นคือเรื่องสนุกสนาน เพราะด้วยพฤติกรรมส่วนบุคคล วัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา สังคมที่สร้างความคุ้นชิน หรือว่าการบ่งบอกสถานะตามชนชั้นกันแน่                 วัฒนธรรม คือ การกระทำหรือการปฏิบัติตนที่สืบทอดปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง ความจริงแล้วการที่เด็กกลุ่มนี้สามารถที่จะทำร้ายเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่มีอายุน้อยกว่าได้อย่างไม่มีความเกรงกลัวที่จะถูกลงโทษ อาจจะมีสาเหตุมาจากการถูกกระทำมาก่อนก็ได้ เพราะในสมัยอดีตเมื่อครั้งที่เขายังเป็นเด็กอยู่ชั้น ม.2 เขาอาจจะเคยถูกรุ่นพี่ชั้น ม.3 ทำแบบที่เขาทำกับรุ่นน้องก็เป็นได้                 สังคม คือ สภาพแวดล้อมที่จะสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมและการกระทำของคนๆ หนึ่ง ฉะนั้น การแสดงออกของพฤติกรรมเด็กหนึ่งคนย่อมต้องมีต้นตอมาจากการเลี้ยงดูหรือการปลูกฝั่งของคนในครอบครัว เพราะการที่เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวและรุนแรงได้มากขนาดนี้ คงไม่อาจเกิดจากนิสัยใจคอจากภายในของเด็กจริงๆ เพียงอย่างเดียวอย่างแน่นอน เขาอาจจะเคยพบเห็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรืออาจจะเคยร่วมกันแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีร่วมกับรุ่นพี่ จึงทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นติดตัวของเขามาโดยตลอด เช่นนั้นแล้วคำว่า สังคม จึงต้องหมายความรวมถึงทุกสิ่งอย่างที่วนเวียนอยู่รอบๆ ตัวและชีวิตของเขา ก็คงต้องกลายเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ และคุณครูที่จะต้องคอยแยกให้เขาว่าสังคมแบบไหนที่ควรเก็บ และสังคมแบบไหนที่ควรเมินหน้าหนี                 แบ่งชนชั้น บางทีจุดประสงค์หลักที่เด็กเหล่านั้นกระทำลงไปอาจจะแค่เพียงต้องการสื่อสารให้รู้ว่า คนมาก่อนนับเป็นพี่ คนมาหลังนับเป็นน้อง ดังนั้น รุ่นน้องก็จะต้องเคารพและเชื่อฟังรุ่นพี่ก็เท่านั้น…

ฝุ่นตัวเล็กที่ไม่เล็ก ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไม่ควรมองข้าม

ฝุ่นตัวเล็กที่ไม่เล็ก ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ไม่ควรมองข้าม

กระแสข่าวที่กำลังเป็นที่จับตามองในปัจจุบันขณะนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่องของฝุ่นละออง PM 2.5 ที่กำลังฟุ้งอยู่ในอากาศทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนักเป็นอย่างมากให้กับประชาชน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จริงๆ ว่าเจ้าฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้มันจะสามารถทำลายสุขภาพและชีวิตเราได้อย่างไร หรือการที่ใส่หน้ากากในทุกวันนี้ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองอย่างจริงจังหรือเป็นเพียงแค่การทำตามกระแสให้เหมือนสังคมคนอื่น                 PM (Particulate Matters) คือ ค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ PM 10 และ PM 2.5 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวหมายถึงหน่วยไมครอนหรือไมโครเมตร เจ้าฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็ก แขวนลอยอยู่ในอากาศร่วมกับไอน้ำ ฝุ่นควัน และก๊าซต่างๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ด้วยความที่เจ้าฝุ่นละออง PM 2.5 นี้มีขนาดที่เล็กมาก ทำให้มนุษย์สามารถสูดดมฝุ่นละอองเข้าไปอย่างไม่รู้ตัว เมื่อผ่านเข้าไปถึงลมปอดก็จะแทรกซึมและกระจายตัวอยู่ในเส้นเลือดฝอยทั่วทั้งร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินหายใจ ระบบหลอดเลือด และที่สำคัญทำให้ปอดต้องมีหน้าที่ในการทำงานที่หนักขึ้นด้วย PM 2.5 เกิดจากอะไร                 สาเหตุของการเกิดฝุ่นละออง PM 2.5 นั้นมีหลากหลายปัจจัย แต่ที่มองว่าเป็นปัจจัยหลัก คือเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์แบบ และฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรายวัน เช่น…

ผู้นำประเทศแบบไหน ที่คนไทยนั้นอยากได้

ผู้นำประเทศแบบไหน ที่คนไทยนั้นอยากได้

ถ้าจะพูดถึงกระแสข่าวปัจจุบันที่กำลังมาแรงไม่แพ้เรื่องฝุ่น PM 2.5 ในขณะนี้ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของการลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นแน่แท้ เพราะการเลือกตั้งในครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย ทำให้กลายเป็นกระแสฮือฮาที่ประเทศไทยกำลังจะกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยกันอีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายจากการเลือกตั้งมานานถึง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2557                 แต่ไม่ว่าการเลือกตั้งจะผ่านไปกี่หนกี่ครั้ง สิ่งที่ยังคงเป็นความต้องการของประชาชนและความคาดหวังจะได้รับจากการเลือกตั้ง คือคนที่มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า แต่ก็ยังไม่มั่นใจสักเท่าไรว่า ในการเลือกตั้งที่ผ่านมานั้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้แท้จริงหรือไม่ กระนั้น หากจะต้องเลือกตั้งใหม่ในครั้งนี้ ความต้องการของประชาชนก็คงจะไม่ต่างจากครั้งที่ผ่าน ๆ มา คงมีคนอยู่ไม่กี่ประเภทหรอกที่คนไทยอยากจะได้มาทำหน้าที่ผู้นำ ซึ่งผู้นำคนนั้นก็ควรจะมีคุณสมบัติอย่างน้อย 3 ข้อ ดังนี้                 1. ความจริงใจ                 หากผู้นำยังไม่มีความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่นแล้ว ก็อย่าหวังว่าคน ๆ นั้นจะมีความจริงใจต่อประเทศชาติ เมื่อจุดเริ่มต้นพื้นฐานยังไม่มีความจริงใจให้คนทั้งประเทศ และคนทั้งประเทศจะเชื่อมั่นและไว้วางใจให้บริหารประเทศและงบประมาณของแผ่นดินได้อย่างไร อย่าเพียงสร้างความจริงใจและหวังดีให้กับคนไทยทั้งประเทศได้เห็นแค่เฉพาะช่วงหาเสียงเลือกตั้ง แต่ขอให้ความจริงใจและหวังดีนั้นมันออกมาจากใจจริง ๆ น่าจะดีกว่า                 2. ไม่คดโกง                 ลองคิดดูว่าประชาชนจะรู้สึกแย่แค่ไหนที่เงินภาษีทุกบาททุกสตางค์ที่หามาด้วยความยากลำบาก กำลังกลายเป็นเม็ดเงินให้ผู้นำหรือผู้มีอำนาจนำไปใช้ในเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ และคนที่นำไปใช้นั้นมีความสุขจากการใช้งานส่วนรวมจริงหรือ คงไม่มีคนไทยคนไหนใครกล้าพูดอย่างเต็มปากหรอกว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดการทุจริตคอรัปชั่น…