ความพอเพียง แบบไหนถึงเรียกว่า “เพียงพอ”
ในยุคปัจจุบันการแข่งขันทางสังคมในด้านต่าง ๆ ค่อนข้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว และถูกพัฒนาไปพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นโดยมนุษย์ ที่มีความตั้งใจตอบสนองความต้องการและปัจจัยพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ความพยายามและการพัฒนาเพื่อต่อยอดทางด้านความคิด และการออกแบบเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสามารถตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์ หรือเพื่อการแข่งขันทางการตลาด อันนำมาซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะพาไปสู่การพัฒนาที่สามารถเป็นฐานเศรษฐกิจที่มั่งคั่งและมั่นคง โดยการประกอบอาชีพปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางการตลาดสูง การขนส่ง และสาธารณูปโภคต่าง ๆ จึงส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ บวกกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นด้วย จนถึงยุคปัจจุบันไม่มีอะไรที่จะยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากไปกว่า “เงิน” อันจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่ทำเพื่อการตอบสนองความต้องการของตนเอง ความร่ำรวย หรือสังคมที่มีระดับชนชั้น นอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้ก็ยังมีการแข่งขัน การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น การเอารัดเอาเปรียบ แม้กระทั่งเกิดปัญหามากมายที่มีในสังคมระหว่างชนชั้น การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ที่มาพร้อม ๆ กับความต้องการของมนุษย์
ด้วยกระแสพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงให้แนวทางกับคนไทยเกี่ยวเรื่องของความพอเพียง การใช้ชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความพอดี และการออกแบบการใช้ชีวิตด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ทำให้ผู้คนมากมายเห็นความสำคัญและให้ความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับแนวทางการดำรงชีวิตด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่เชื่อว่าจะส่งผลให้ชีวิตของตนเองนั้นหากนำหลักความพอเพียงมาใช้ก็จะทำให้มีความพอดีและหลบหลีกจากปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นมากมายนั้น เช่น การทำเกษตรสวนพอเพียง การออกแบบพื้นที่ในการทำเกษตรที่ปลอดภัย การรณรงค์การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยลง ทั้งนี้ก่อให้เกิดเป็นการเรียนรู้และความสนใจของกลุ่มคนมากมายในสังคมที่อยากใช้ชีวิตแบบพอเพียง ทั้งหน่วยงานราชการ กลุ่มประชาชน และผู้คนที่สนใจมากมายที่เห็นความสำคัญและส่งเสริมผลักดันให้เกิดเป็นกลุ่มชุมชนพอเพียง และส่งเสริมให้เกษตรกร ประชาชนทุกชนชั้นได้เรียนรู้ถึงความพอเพียงในชีวิตที่สามารถพาตนเองและคนรอบข้างสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างพอดีไม่เกิดปัญหาและสามารถพึ่งพาตนเองได้รวมไปถึงพึ่งพากันและกัน เพื่อที่จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้ชุมชน สังคม มีความมั่นคงอย่างแท้จริง มีความเข้มแข็ง เข้าใจซึ่งกันและบนพื้นฐานของความพอเพียง ก่อให้เกิดเป็นสังคมที่ดีปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม หรือการเอารัดเอาเปรียบ การแข่งขันทางสังคม หรือปัญหาความแตกต่างระหว่างชนชั้น ก็จะลดลงตามไปด้วย
ทั้งนี้ความแตกต่างของมนุษย์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการใช้ชีวิต เพราะคนทุกคนย่อมมีความคิด การกระทำ สภาพร่างกาย สภาวะทางจิตใจ รวมไปถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันด้วยนั้น ทำให้พื้นฐานความพอเพียงของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันไป จึงเป็นสิ่งสำคัญว่า การที่ทุกคนจะมีความพอเพียงได้นั้นเกิดจากแต่ตัวละบุคคลว่ามีความจำเป็นมากเพียงไหน ในชีวิตนั้นจำเป็นต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง ออกแบบเพื่อให้การดำรงชีวิตของตนเองนั้นไม่มีอะไรมากจนเกินความจำเป็น และไม่ขาดอะไรที่จำเป็นในชีวิต แน่นอนว่าทุกคนไม่จำเป็นต้องลาออกจากงานประจำมาทำเกษตรเพียงอย่างเดียวเสมอไป หรือ เข้าใจว่าต้องทำอะไรที่นอกเหนือจากสิ่งที่ทำเป็นประจำ แต่คือการเลือกเรียนรู้ว่าสิ่งที่มีอยู่ประจำวันนั้นอะไรที่สำคัญที่สุดก็เลือกปฏิบัติ ส่วนสิ่งไหนที่เกินความจำเป็นก็เพียงพิจารณาว่ามีความจำเป็นอย่างไร จริง ๆ แน่นอนว่าความพอเพียงของมนุษย์ย่อมไม่เหมือนกันและแตกต่างกันในที่สุด เพราะในโลกของความเป็นมนุษย์มีพื้นฐานของความต้องการที่ไม่สิ้นสุด การสรรหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ตัวเองสะดวกสบายที่สุด จึงยากนักที่มนุษย์จะเรียนรู้ได้ว่าสิ่งไหนต้องการหรือไม่จึงทำให้ความพอดีไม่มีสิ่งไหนที่จะวัดได้เลย นอกจากทุกวันนี้ถ้าชีวิตสามารถแยกได้ว่าสิ่งไหนที่จำเป็นต้องมี หรือไม่จำเป็นจำเป็นต้องมีได้ก็จะเรียนรู้ได้เองโดยธรรมชาติว่าจริง ๆ แล้วความพอเพียงของแต่ละคนอยู่จุดไหนนั่นเอง